ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: พร้อมรับมือหากลูกมีอาการชักจากไข้สูง (Febrile Convolsion)  (อ่าน 68 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: พร้อมรับมือหากลูกมีอาการชักจากไข้สูง (Febrile Convolsion)

ภาวะชักจากไข้สูง หรือ “ไข้ชัก” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก หากสงสัยว่าลูกมีอาการบ่งชี้สภาวะดังกล่าวควรศึกษาข้อมูลและปฎิบัติตนเบื้องต้นให้พร้อมรับมือภาวะชักหากลูกมีไข้สูง


ภาวะชักจากไข้สูงมีอาการอย่างไร?

ลูกจะมีอาการชักแบบเกร็งหรือกระตุกทั้งตัว อาการนี้จะเกิดขึ้นขณะที่มีไข้สูง โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอาการนี้จะพบในเด็กดั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปจนกระทั่ง 5-6 ปี แต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่มีช่วงอายุ 1-2 ปี


ภาวะชักจากไข้สูงเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดจากการที่สมองของเด็กเล็กยังเจริญไม่เต็มที่ ทำให้มีโอกาสชักได้เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น มีไข้สูง เป็นต้น
1 ห้าม 3 ต้อง เมื่อลูกมีอาการชักจากไข้สูง

    ห้ามใช้นิ้วหรือวัสดุใดๆ ล้วง หรืองัดปากลูก
    ต้องตั้งสติอย่าตกใจ
    ต้องจับผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
    ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล ถ้าอาการชักเป็นนานมากกว่า 3-5 นาที หรือรอบปากมีรอยเขียวคล้ำ


อาการชักอาจเกิดได้จากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หรือไม่?

การที่เด็กมีไข้และมีอาการชักตามมานั้น อาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอาการซึมลง รับประทานอาหารได้น้อยลง หรืออาเจียนร่วมด้วย


ภาวะนี้มีผลต่อพัฒนาการ หรือสติปัญญาของเด็กหรือไม่?

โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็กที่ปกติและมีความแข็งแรงดีมาก่อน ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะถ้านานมากกว่า 30 นาที จนทำให้เกิดภาวะตัวเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กรณีนี้อาจส่งผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไปอาการชักจากไข้สูงมักจะหยุดได้เองภายใน 3-5 นาที จึงไม่น่ามีอันตรายต่อสมองของเด็ก


ลูกจะมีโอกาสชักซ้ำถ้ามีไข้สูงอีกหรือไม่?

1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีโอกาสชักซ้ำได้ถ้ามีไข้สูง จนกว่าจะอายุมากกว่า 5-6 ปีไปแล้ว ส่วนในรายที่เริ่มมีอาการชักจากไข้ครั้งแรกก่อนอายุ 1 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้ในตอนเด็ก อาจมีโอกาสชักซ้ำได้มากขึ้น


เด็กที่เคยชักแล้วมีโอกาสเป็นโรคลมชักหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคลมชักจะไม่ต่างจากเด็กปกติทั่วไป ยกเว้นในรายที่เคยมีประวัติชักนานเกิน 15 นาที มีการชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง มีความผิดปกติทางสมองก่อนมีอาการชัก หรือครอบครัวเคยมีประวัติการป่วยเป็นโรคลมชัก


ป้องกันอาการชักซ้ำเมื่อลูกมีไข้สูงได้อย่างไร?

ถ้าพบว่าลูกมีไข้สูงควรให้ยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวลดไข้ทันที ทั้งนี้ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้และรักษาที่เหมาะสมต่อไป


จำเป็นต้องรับประทานยากันชักหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องรับประทานยากันชัก ยกเว้นในบางรายที่แพทย์แนะนำให้รับประทาน เพื่อป้องกันอาการชักเฉพาะเวลาที่มีไข้สูง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย


 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google