แพลนต์ เบส ฟู้ด (Plant based food) หรืออาหารแพลนต์ เบส คือ รูปแบบการทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก แทนการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ การทานอาหารแพลนต์ เบส ไม่เพียงรวมถึงการทานอาหารจำพวกผัก
แพลนต์ เบส (Plant based) เทรนด์อาหารจากพืช เพื่อสุขภาพ
แพลนต์ เบส ฟู้ด (Plant-based food) หรืออาหารแพลนต์ เบส คือ รูปแบบการทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก แทนการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ การทานอาหารแพลนต์ เบส ไม่เพียงรวมถึงการทานอาหารจำพวกผัก และผลไม้หลากสีตามฤดูกาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธัญพืช ถั่วเมล็ดแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดพืช น้ำมันจากพืช โฮลเกรน หรือธัญพืช การทานอาหารแพลนต์ เบส ไม่ใช่รูปแบบการทานอาหารแบบมังสวิรัติที่เลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ นม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมทั้งหมด แต่การทานอาหารแพลนต์ เบส คือการทานอาหารที่เน้นสัดส่วนของผัก ผลไม้ และธัญพืชชนิดต่าง ๆ เป็นหลักในขณะที่ยังสามารถทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือนมได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าอาหารกลุ่มแพลนต์ เบส นั้นเอง
Plant based คืออะไร?
โดยหลักการ การทานอาหาร plant based คือ การทานอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพร ถั่ว ธัญพืชที่ไม่ขัดสี หรือขัดสีน้อยที่สุด อาหารธรรมชาติที่ไม่แปรรูป หรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด การทานอาหาร plant-based เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากเสริมโปรตีนแต่ต้องการหลีกเลี่ยงแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชต่าง ๆ มากมาย เช่น แพลนต์ เบส โปรตีน (Plant based protein) หรือ แพลนต์ เบส มีต (Plant based meat) ซึ่งไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือน้ำผึ้ง และคงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการ
แหล่งอาหาร plant based มีอะไรบ้าง?
- ถั่วเมล็ดแห้ง (Bean) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลูกไก่ ถั่วเลนทิล ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีโปรตีนสูง และมีกากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ช่วยลดการดูดซึมของไขมัน และยังช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย
- ถั่วเปลือกแข็ง (Nut) เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เกาลัด พิตาชิโอ ถั่วลิสง ถั่วหวาน ที่มีคาร์โบเดรตต่ำ มีโปรตีนและไขมันชนิดดีสูง (HDL) ช่วยซึ่งช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ในเส้นเลือดได้
- เมล็ดพืช (Seeds) เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์
- ธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grains) หรือธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง หรือพาสต้าข้าวสาลี ที่มีไฟเบอร์สูงกว่าธัญพืชขัดสี ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเรื้อรัง และช่วยควบคุมน้ำหนัก
- ผักและผลไม้ (Vegetables and fruits) ผักและผลไม้ไฟเบอร์สูง เช่น บล็อคโคลี ผักโขม แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง แอปเปิ้ลเขียว ที่ช่วยแก้โรคท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย และช่วยขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายได้อีกด้วย
- ถั่วเหลือง (Soy) เต้าหู้ และถั่วแระญี่ปุ่น อุดมด้วยโปรตีน ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ดูแลสุขภาพ: แพลนต์ เบส (Plant based) เทรนด์อาหารจากพืช เพื่อสุขภาพ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/