ผู้เขียน หัวข้อ: โรคปอดอักเสบในเด็ก โรคไม่เด็ก ภัยเงียบที่เสี่ยงถึงชีวิต  (อ่าน 63 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
โรคปอดอักเสบในเด็ก โรคไม่เด็ก ภัยเงียบที่เสี่ยงถึงชีวิต

โรคปอดอักเสบในเด็ก หรือ ปวดบวม อีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน และ ฤดูหนาว เป็นโรคที่อันตรายทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อปอด รวมทั้งเนื้อเยื้อรอบถุงลมและถุงลม ส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจลดลง เกิดความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลม ในเด็กบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ

    ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การแพ้หรือการระคายเคืองจากสารที่สูดดมเข้าไป การสำลักอาหาร เป็นต้น
    ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่วนเชื้อราและพยาธิพบได้น้อยเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae), Gr.A Streptococcus, เชื้อฮิบ (Haemophilus influenzae type B) หรือเชื้อไมโครพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะ ได้แก่ RSV, ไข้หวัดใหญ่ และ hmpv เป็นต้น


เด็กกลุ่มใดเสี่ยงปอดอักเสบ?

เด็กที่เสี่ยงโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กตั้งแต่แรกคลอด - 5 ปี เด็กมีความพิการทางสมอง มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กไม่ได้กินนมแม่ ไม่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด มีภาวะทุพโภชนาการ เด็กที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง

ซึ่งโรคปอดอักเสบในเด็ก สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น หายใจเอาเชื้อเข้าปอดจากคนที่ไอ หรือจามใกล้กันแล้วไม่ได้ปิดปากโดยฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัด โดยการสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไปในปอด หรือแม้กระทั่งโดยการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด จากที่มีการติดเชื้อที่บริเวณอื่นก่อนแล้วแพร่กระจายมาสู่ปอด เป็นต้น

อาการปอดอักเสบ

เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค อาการส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นทันที ได้แก่

    มีไข้ ไอมีเสมหะ อาจพบหายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก มีปีกจมูกบาน ขณะหายใจมีชายโครง หรือหน้าอกบุ๋ม ปากเขียว หายใจดัง
    บางรายอาจมีอาการร้องกวน งอแงกว่าปกติ กระสับกระส่าย
    ในเด็กเล็กอาการส่วนใหญ่จะไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ ไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ อาจมีอาการซึม หรืออาเจียน ร้องกวนกว่าปกติ
    ในเด็กโตอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออกลึก ๆ ร่วมด้วย


การตรวจและวินิจฉัย

เจากอาการและอาการแสดงข้างต้น หากแพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติของเสียงปอด ซึ่งอาจพิจารณาส่งตรวจรังสีวินิจฉัยเพื่อดูรอยโรคและความรุนแรงของโรค รวมถึงการตรวจเลือด และตรวจป้ายจมูก (nasal swab) เพื่อหาเชื้อสาเหตุร่วมด้วย เช่น ไวรัส

การรักษาปอดอักเสบ

วิธีการดูแลรักษาโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวมในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

    การรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะในกรณีที่เสมหะเหนียว อาจมีการให้ยาพ่นขยายหลอดลมในกรณีที่ได้ยินเสียงหลอดลมตีบจากภาวะหลอดลมหดเกร็ง หรือในกรณีที่มีภาวะหายใจลำบากหรือรุนแรง อาจพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจผ่านทางหน้ากากหรือพิจารณาใส่ท่อหลอดลม และทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อช่วยระบายเสมหะให้ถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น เป็นต้น
    การรักษาแบบเฉพาะ โดยการให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสมต่อเชื้อโรคต้นเหตุของโรคปอดอักเสบปอดบวมนั้นๆ หรือ ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่


ป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กได้อย่างไร?

ป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดย การหลีกเลี่ยงพาเด็กไปในสถานที่ซึ่งมีคนแออัดหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ หรืออากาศที่หนาวเย็นเกินไป หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อยๆ

ที่สำคัญ คือ เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) ไอกรน รวมถึงวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนิวโมคอคคัสหรือฮิบ วัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวและช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น เด็กที่ไม่มีม้าม มีโรคไตชนิดเนโฟรติก หรือมีโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น ไตวาย โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

โรคปอดอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อย และในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้ หากสงสัยว่าบุตรหลานเริ่มมีอาการของโรคปอดอักเสบติดเชื้อก็ควรพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google