ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)  (อ่าน 109 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 253
    • ดูรายละเอียด
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
« เมื่อ: 16 ธันวาคม 2023, 10:21:16 am »
ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดความดัน (sphygmomanometer) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ

1. ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคนคนเดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย

2. ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

    ความดันโลหิตปกติ หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท และความดันช่วงล่างมีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
    ความดันโลหิตสูง (ความดันเลือดสูง ความดันสูง ก็เรียก) หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป

โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้

บางรายอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว (มีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป) แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง (มีค่าต่ำกว่า 90 มม.ปรอท) เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (isolated systolic hypertension/ISHT) ซึ่งนับว่ามีอันตรายไม่น้อยกว่าความดันช่วงล่างสูง และควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง

ส่วนผู้ที่ความดันช่วงบนมีค่า 130-139 มม.ปรอท และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่า 85-89 มม.ปรอท นับว่าเป็นความดันปกติแต่ค่อนไปทางสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูงตามมาในอนาคต

โรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณร้อยละ 25 ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป และพบเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น อายุ 60 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50

สาเหตุ

1. ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 95) จะไม่พบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ (primary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (essential hypertension)

แต่อย่างไรก็ตาม มักพบว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค กล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า

นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน การกินอาหารเค็มจัดหรือมีเกลือโซเดียมสูง และการดื่มแอลกอฮอล์จัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของการเกิดโรคนี้

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น

2. ส่วนน้อย (ประมาณร้อยละ 5) อาจตรวจพบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ (secondary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงชนิดมีสาเหตุ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    ความดันช่วงบน ≥ 180 หรือช่วงล่าง ≥ 110 มม.ปรอท
    มีความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที
    ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นก่อนอายุ 30 ปี หรือหลังอายุ 50 ปี
    พบภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายโต มีค่าครีอะตินีนในเลือด > 1.5 มก./ดล.
    จอตาเสื่อม (hypertensive retinopathy) ระดับ 3 หรือ 4
    คุมความดันไม่ได้หลังจากเคยคุมได้ดีมาก่อน หรือใช้ยาลดความดันหลายชนิดแล้วยังคุมความดันไม่ได้
    มีอาการที่สงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ


โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google